หลักเกณฑ์ขั้นพื้นฐานของการวิเคราะห์ทางเทคนิค(Technical Analysis) คือ

หลักเกณฑ์ขั้นพื้นฐานของการวิเคราะห์ทางเทคนิค(Technical Analysis) คือ

หลักเกณฑ์ขั้นพื้นฐานของการวิเคราะห์ทางเทคนิค(Technical Analysis) คือ

คุณเคยสงสัยไหมว่า หุ้นที่คุณกำลังสนใจอยู่และกำลังจะตัดสินใจที่จะซื้อหรือขายนั้น จริงๆ แล้วมันน่าซื้อหรือขายหรือยัง?  และเราควรจะทำกำไรจากหุ้นตัวนั้นๆ เมื่อไหร่ดี?  วันนี้เราจะมาตอบคำถามนี้ด้วยการเข้าใจหลักเกณฑ์ขั้นพื้นฐานของการวิเคราะห์ทางเทคนิค(Technical Analysis) กันให้มากยิ่งขึ้น

1.หลักเกณฑ์ขั้นพื้นฐานของการวิเคราะห์ทางเทคนิค(Technical Analysis) คืออะไร? 

นักลงทุนหน้าใหม่อาจจะเคยได้ยินว่า มีคนรวยและประสบความสำเร็จจากตลาดหุ้นมากมาย ขณะเดียวกัน ก็มีคนล้มละลายจากตลาดหุ้นเช่นกัน จึงอาจจะมีความลังเลว่าจะลงทุนในตลาดหุ้นดีไหม  จะต้องเริ่มอย่างไร และทำกำไรได้อย่างไร  ก่อนที่เราจะกล่าวถึงการวิเคราะห์ทางเทคนิค(Technical Analysis) คืออะไรนั้น  สิ่งแรกที่นักลงทุนต้องทำความเข้าใจนั่นคือ ต้องรับรู้ว่าตลาดหุ้นมีความผันผวน(Volatility)  สูง

โควิด-19 และความผันผวนของราคาหุ้น

นั่นหมายความว่าตลาดหุ้นพลิกผันตามสถานการณ์และปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อตลาด ไม่ว่าจะเป็นข่าวการเมือง เศรษฐกิจโลก การเข้ามาของคู่แข่งทางการตลาดในอุตสาหกรรมเดียวกัน หรือแม้แต่ใสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 ตั้งแต่สายพันธุ์อัลฟ่า (Alpha) เดลต้า (Delta) เบต้า (Beta) จนถึงโอไมคร่อน (Omicron) จากตัวอย่างตลาดหุ้นไทยจากที่อยู่ที่ 1539 จุดในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563 เพียงเดือนเดียวเท่านั้นได้ร่วงดิ่งลงมาอยู่ที่ 969 จุดในวันที่ 13 มีนาคม 2563

ตลาดหุ้นไทยในโควิด-19 (ที่มา  https://www.thairath.co.th/scoop/1795753)

นักลงทุนบางท่านอาจต้องหยุดชะงัก เพราะบาดเจ็บ ทุนหายกำไรหด จนรู้สึกเหนื่อยหน่ายท้อแท้ด้วยเพราะจับทิศทางตลาดไม่ถูก แต่ก็มีอีกจำนวนไม่น้อยที่ได้จังหวะทอง เข้าทำกำไรอย่างเป็นกอบเป็นกำ

การที่จะสามารถทำกำไรในตลาดหุ้นได้อย่างถูกจังหวะนั้น ก็เหมือนคำคมที่คนเคยกล่าวไว้ว่า “การเดินเรือต้องดูทิศทางลม” นั่นเอง โดยนักลงทุนจะต้องมีความรู้ด้านการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน(Fundamental Analysis) ซึ่งเปรียบเสมือนเรือในการล่องไปในทะเลกว้าง และขณะเดียวกันก็จะต้องมี การวิเคราะห์ทางเทคนิค (Technical Analysis) ซึ่งจะเป็นทิศทางลมที่จะพาไปถึงฝั่ง

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน(Fundamental Analysis)นั้น นักลงทุนต้องทำความเข้าใจและรู้จักตัวหุ้นที่จะลงทุน ทิศทางของอุตสาหกรรมนั้นๆ และเศรษฐกิจระดับมหาภาคเป็นอย่างดี รวมถึงนำข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นเช่น ข้อมูลงบการเงินของบริษัท ความเสี่ยงจากการลงทุน และมูลค่าสินทรัพย์ของบริษัท โดยมีข้อมูลที่ใช้ประกอบการลงทุนเช่น ราคาต่อกำไรต่อหุ้น (Price to Earnings Ratio หรือค่า P/E) ราคาต่อมูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น (Price to Book Value Ratio หรือค่า P/BV) และเงินปันผล (Dividend Yield) เพื่อนำข้อมูลทั้งหมดมาประเมินหามูลค่าที่แท้จริงของหุ้นในอนาคต

แต่สิ่งที่สำคัญที่ไม่แพ้การวิคราะห์ปัจจัยพื้นฐานนั่นคือ  นักลงทุนควรมีความรู้และความเข้าใจในตลาดหุ้น และมีความรู้ที่ใช้เป็นเครื่องมือในการชนะตลาด นั่นก็คือ การวิเคราะห์ทางเทคนิค (Technical Analysis) เพื่อที่จะใช้ตัดสินใจว่า การลงทุนซื้อหรือขายหุ้นในแต่ละครั้งนั้น ถึงเวลาที่เหมาะสมแล้วหรือยัง

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน vs การวิเคราะห์ทางเทคนิค

การวิเคราะห์ทางเทคนิค(Technical Analysis)เป็นการนำข้อมูลที่ได้จากประวัติการเคลื่อนไหวของหุ้นแต่ละตัวในตลาด ไม่ว่าจะเป็นราคาซื้อขายที่ขึ้น-ลง หรือคงที่ (Price) มาวิเคราะห์ร่วมกับปริมาณการซื้อขาย (Volume) ภายในช่วงระยะเวลาที่กำหนด (Time)  ด้วยเครื่องมือและโปรแกรมทางสถิติ ดังนั้นข้อมูลที่เราได้จะทำให้เราเห็นพฤติกรรมการเคลื่อนไหวของหุ้นที่ผ่านมา และเราจะใช้ประวัติพฤติกรรมของหุ้นนั้นๆ เพื่อใช้ในการคาดการณ์แนวโน้มของหุ้นในอนาคต เพื่อจะเข้าซื้อ หรือเทขายหุ้นดังกล่าวเพื่อทำกำไรได้อย่างถูกจังหวะนั่นเอง

กล่าวง่ายๆคือ นักลงทุนที่ใช้การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน(Fundamental Analysis) จะวิเคราะห์ว่าหุ้นตัวนี้ “มีพื้นฐานที่ดี” หรือไม่  ซึ่งจะแตกต่างกันกับนักลงทุนที่ใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคที่จะวิเคราะห์ว่าหุ้นตัวนี้ “มีราคาที่ดี” หรือไม่

เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น  หากจะกล่าวถึงหุ้นธุรกิจบันเทิงยักษ์ใหญ่ของอเมริกา หลายคนคงนึกถึงหุ้น NFLX ของ netflix.com ซึ่งเป็นบริการออนไลน์สตรีมมิ่งชั้นนำอันดับหนึ่งของโลก ถึงแม้ว่าหุ้นโดยภาพรวมจะเป็นหุ้นที่มีพื้นฐานที่ดี แต่เราจะเห็นว่าทางเทคนิคแล้ว ถึงแม้ว่าแนวโน้มในภาพรวมมี Trend Line ในขาขึ้น แต่ในรอบหนึ่งเดือนที่ผ่านมานั้นมีแนวโน้มเป็นขาลง

ที่มา Mitrade | Trade Forex, Gold, Oil, Indices, Shares & More on Our Award-Winning Platform

2.สรุปการเปรียบเทียบระหว่าง การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน vs การวิเคราะห์ทางเทคนิค

การวิเคราะห์ทางเทคนิคการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน
คำอธิบายใช้การเคลื่อนไหวของราคาเพื่อทำนายทิศทางของราคาในอนาคตอธิบายว่าปัจจัยทางเศรษฐกิจใดที่เป็นสาเหตุของ การเคลื่อนไหวของราคาบนแผนภูมิ และปัจจัยอะไรที่เป็นตัวบ่งบอกการเคลื่อนไหวของราคาในอนาคต
แหล่งที่มาของข้อมูลกราฟราคาข่าวเศรษฐกิจต่างๆ ข่าวเหตุการณ์ต่างๆ
สัญญาณการเข้าสัญญาณการเปลี่ยนแปลงของราคาและสัญญาณตัวบ่งชี้ทางเทคนิคซื้อ (ขาย) เมื่อสินทรัพย์มีมูลค่าต่ำกว่า (สูงกว่า)
ประเภทของเทรดเดอร์เทรดเดอร์ที่เทรดระยะสั้นเช่น นักลงทุนแนวเทคนิค (Technical)มักจะเป็นเทรดเดอร์ที่เทรดระยะยาวเช่น นักลงทุนวีไอ (Value Investor) กับ นักลงทุนจีไอ (Growth Investing)
ระยะเวลาในการลงทุนระยะเวลาที่ถือหุ้นไว้เป็นวัน เป็นชั่วโมง เป็นนาที หรือเป็นวินาทีระยะเวลาที่ถือหุ้นไว้เป็นวัน เป็นสัปดาห์ เป็นเดือน
แนวคิดหลักทฤษฎี Dow, แนวรับและแนวต้าน, รูปแบบราคาการเปรียบเทียบตัวเลขทางเศรษฐกิจที่เป็นค่าจริง กับตัวเลขที่คาดการณ์หรือตัวเลขในอดีต
ที่มาของตาราง การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน vs. การวิเคราะห์ทางเทคนิค

จากตารางเปรียบเทียบระหว่างการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานและการวิเคราะห์ทางเทคนิคด้านบน จะเห็นได้ว่า การวิคราะห์ทั้งสองวิธีต่ออาจจะเหมาะสมกับนักลงทุนบางกลุ่ม และการเข้าซื้อหุ้นในบางโอกาส  และการใช้ความรู้และเทคนิคในการเข้าเทรดแตกต่างกัน ดังนั้น สิ่งที่ดีที่สุดก็คือนักลงทุนควรพิจารณาสไตล์การเทรดของตนเอง และมีความรู้พร้อมใช้การวิเคราะห์แบบใดก็ได้ ทันทีที่ต้องการ

3.ทำไมเราต้องเข้าใจการวิเคราะห์ทางเทคนิค

ถึงแม้ว่าหุ้นบางตัว เมื่อนักลงทุนใช้การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานมาพิจารณาแล้ว ได้คำตอบว่าหุ้นดังกล่าวเป็นหุ้นที่มีพื้นฐานที่ดี และควรที่จะซื้อ  คำถามสำคัญในลำดับต่อมาก็คือ ควรซื้อหุ้นพื้นฐานดีดังกล่าว “เมื่อไหร่ดี”?  การมีความรู้ด้านการวิเคราะห์ทางเทคนิค จะช่วยตอบคำถามดังกล่าวได้ง่ายขึ้น 

จากตัวอย่างหุ้น NFLX ข้างต้น เราจะเห็นว่าแม้ว่าหุ้นดีๆ อย่าง netflix นั้น ตอนนี้ก็กำลังลงอยู่  เพื่อตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในตลาดหุ้น จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่นักลงทุนทุกท่านต้องเตรียมพร้อมอยู่เสมอ วัฏจักรของหุ้นนั้นมีขึ้นและมีลง  ก่อนการตัดสินใจเข้าซื้อหุ้น หรือขายหุ้นเพื่อทำกำไรทุกครั้งนั้นควรจะมีเหตุผลและความรู้มาประกอบ โดยประเมินจากประวัติและพฤติกรรมของหุ้นตัวนั้นๆ ที่ผ่านมา ว่ามีกำลังอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น หรือขาลง  

หากหุ้นกำลังอยู่ในขาขึ้น หุ้นเหล่านั้นมีนักลงทุนซื้อมากเกินไปและกำลังขึ้นสูงเกินราคาที่ควรจะเป็นหรือยัง (overbought)  หากเราถือหุ้นอยู่ ควรจะขายเพื่อที่จะทำกำไรไปก่อนดีหรือไม่  หรือหากหุ้นกำลังอยู่ในขาลง หุ้นดังกล่าวนั้นมีนักลงทุนเทขายจนต่ำกว่าราคาที่ควรจะเป็นหรือยัง (Oversold) หากเรายังไม่มีหุ้นดังกล่าว  ควรจะตั้งรับซื้อหุ้นเพื่อเตรียมทำกำไรในรอบใหม่หรือไม่

ดังนั้นนักลงทุนมืออาชีพจะวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานก่อนเพื่อกำหนดว่าเลือกหุ้นตัวไหน และใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิค ในการช่วยให้นักลงทุนเห็นแนวโน้มของหุ้นเพื่อพิจารณาประกอบการตัดสินใจ มั่นใจในการตัดสินใจที่จะซื้อ-ขายหุ้นแต่ละตัว และช่วยให้กำหนดจังหวะการเทรดที่เหมาะสมนั่นเอง

4.การวิเคราะห์ทางเทคนิคมีข้อดีและข้อเสียอย่างไร

ถึงแม้ว่าการวิเคราะห์ทางเทคนิคเป็นวิธีการที่จะช่วยให้นักลงทุนมีมีความมั่นใจในการเลือกลงทุนในหุ้นแต่ละครั้ง แต่อย่างไรก็ตาม เหรียญยังมีสองด้าน  การวิเคราะห์ทางเทคนิคก็เช่นเดียวกัน

ข้อดี

  • แม่นยำมีหลักการ – การวิเคราะห์ทางเทคนิคตั้งอยู่บนพื้นฐานพฤติกรรมของหุ้นในอดีต โดยมีเครื่องมือ และสถิติ และค่าอินดิเคเตอร์ที่แม่นยำมาใช้ประกอบในการคำนวนและแสดงผล  
  • ใช้กับหุ้นได้หลากหลาย – นักลงทุนส่วนใหญ่ ชอบตัวเลือกในการตัดสินใจ และบางครั้งอาจจะหวังเพียงทำกำไรระยะสั้น  การการเข้าซื้อและขายในช่วงเวลาสั้นๆ จึงไม่ได้จำกัดเฉพาะหุ้นที่มีพื้นฐานดีเท่านั้น แต่สามารถเข้าซื้อกับหุ้นได้มากมายตามแต่โอกาสและจังหวะที่เหมาะสม
  • ทำกำไรเร็ว – การวิเคราะห์ทางเทคนิคเน้นที่จังหวะการเข้าซื้อ ทำให้สามารถเข้าซื้อ และเทขายและทำกำไรได้รวดเร็วกว่า การลงทุนเชิงคุณค่าซึ่งจะถือหุ้นเพื่อทำกำไรในระยะยาว
  • ขจัดปัญหาด้านอารมณ์ – นักลงทุนหลายคนมักตื่นเต้นเวลาหุ้นขึ้นหรือลงแรง ส่งผลให้เกิดการตัดสินใจไปตามอารมณ์ ณ ช่วงเวลานั้นๆ เช่นรู้สึกว่ากำลัง “ตกรถ” หรือ “ขายหมู” ไป  ดังนั้นการวิเคราะห์ทางเทคนิคจะเป็นเกณฑ์ที่นำมาใช้ตัดสินใจโดยช่วยกรองและแบ่งอารมณ์ออกไปจากข้อมูลความเป็นจริง

ข้อเสีย

  • ต้องใช้ความรู้ความเข้าใจสูง – นักลงทุนบางคนอาจจะถอดใจและรู้สึกกลัวเมื่อเห็นเครื่องมือเชิงสถิติ  กราฟเส้นหลากลาย และค่าอินดิเคเตอร์มากมาย รวมถึงทฤฎีและแนวคิดสำคัญที่ใช้ประกอบการตัดสินใจ จึงอาจจะรู้สึกท้อไปก่อนที่จะเริ่มเรียนรู้เครื่องมือเหล่านั้น
  • ความผันผวนไม่แน่นอน – ตลาดหุ้นมีความผันผวนเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว  การวิเคราะห์ทางเทคนิคใช้สมมุติฐานว่า พฤติกรรมของหุ้นจะยังคงเหมือนเดิมกับการเคลื่อนไหวและมีรูปแบบเหมือนในอดีตที่ผ่านมา จึงใช้การคาดการณ์แนวโน้มในอนาคตจากข้อมูลดังกล่าว ซึ่งในบางครั้งอาจจะไม่เป็นอย่างนั้นก็ได้
  • หลงทาง – นักลงทุนบางท่านอาจจะเข้าใจว่า ยิ่งใช้อินดิเคเตอร์ยิ่งเยอะยิ่งดี  แต่บางครั้งการใช้อินดิเคเตอร์หลายๆ ตัวอาจจะพบว่า ข้อมูลที่ได้อาจจะขัดแย้งกัน และทำให้สับสนได้ นักลงทุนอาจจะตัดสินใจผิดและพบว่าหุ้นไปผิดทางได้

ดังนั้น หลังจากทราบแม่งุมต่างๆ ทั้งข้อดี และข้อเสีย ของการวิเคราะห์ทางเทคนิคแล้ว  ก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของนักลงทุน ที่จะใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคด้วยความมั่นใจ ในขณะเดียวกันก็ตระหนักถึงข้อเสียที่มีควบคู่กันไป

5.ทฤษฎีและแนวคิดสำคัญของการวิเคราะห์ทางเทคนิค

จากข้อมูลข้างต้น เราจะเห็นได้ว่าการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานเป็นวิธีการที่ทำให้นักลงทุนเห็นถึงมูลค่าของหุ้น  ในขณะที่การวิเคราะห์ทางเทคนิคเป็นวิธีการที่ทำให้นักลงทุนเห็นถึงแนวโน้ม รูปแบบพฤติกรรมของหุ้น และจังหวะการเข้าเทรด  ถึงแม้ว่าจะมีทฤษฎีของการวิเคราะห์ทางเทคนิคที่หลากหลาย ทฤษฎีการลงทุนส่วนใหญ่ตั้งอยู่บนสมมุติฐานที่ว่า พฤติกรรมของนักลงทุนในตลาดจะเหมือนเดิมจากในอดีต และนักลงทุนส่วนใหญ่จะใช้แนวคิดทฤษฎีหลักที่สำคัญเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในการเข้าเทรดในเบื้องต้น อาทิเช่น

①ทฤษฎีดาว(Dow Theory)

ทฤษฏีดาวนั้น ได้เกิดจากแนวคิดของชาลส์ เฮนรี่ ดาว (Charles Henry Dow) นักหนังสือพิมพ์ชาวอเมริกันผู้ร่วมก่อตั้ง Dow Jones & Company และ The Wall Street Journal โดยดาวได้เน้นให้วิเคราะห์รอบของการขึ้น—ลง ของราคาหุ้นจนเกิด “จุดสูงสุดใหม่ (New High)” หรือ “จุดต่ำสุดใหม่ (New Low)” เพื่อประเมินแนวโน้มของหุ้นว่าอยู่ในทิศทางใด   

来源 https://www.stockalphabets.com/

กล่าวคือหากหุ้นมีการตัวใดตัวหนึ่ง ได้รับความนิยมและถูกซื้ออย่างต่อเนื่องจนทำราคาสูงสุด แม้ว่าราคาอาจจะลดลงมาบ้างในรอบนั้นแต่ก็ยังไม่ต่ำกว่าราคาจุดสูงสุดจุดเดิม และสามารถทำจุดสูงสุดใหม่ติดๆ กันต่อเนื่องแบบนี้  จะถือว่าหุ้นตัวนั้นเป็น หุ้นขาขึ้น  

ในทางตรงกันข้ามกล่าวคือหากหุ้นมีการตัวใดตัวหนึ่ง มีการขายอย่างต่อเนื่องจนทำราคาลดลงต่ำสุด แม้ว่าราคาอาจจะขึ้นมาบ้างในรอบนั้นแต่ก็ยังไม่สูงไปกว่าราคาจุดต่ำสุดจุดเดิม และเกิดเป็นจุดต่ำสุดใหม่ต่อเนื่องแบบนี้  จะถือว่าหุ้นตัวนั้นเป็น หุ้นขาลง นั่นเอง ซึ่งจากทฤษฏีดาวนี้ นักลงทุนสามารถเล่นรอบและทำกำไรตามแนวโน้มของหุ้นได้ 

②ทฤษฎีอีเลียตเวฟ(Elliott wave principle)

ทฤษฎีอีเลียตเวฟนั้น ได้ถูกคิดค้นขึ้นโดยราล์ฟ เนลสัน อีเลียต (Ralph Nelson Elliott) จากการสังเกตพฤติกรรมของหุ้นในอดีตและได้เห็น Pattern ที่มีความคล้ายๆ กัน เกิดซ้ำแล้วซ้ำอีก จึงเสนอออกมาเป็นทฤษฎีเพื่อให้นักลงทุนได้เห็นรูปแบบการเคลื่อนไหวของเส้นกราฟราคาหุ้น 

ที่มา https://www.researchgate.net/publication/286561691_Design_and_Evaluation_of_Automatic_Agents_for_Stock_Market_Intraday_Trading

โดยปกติแล้วหุ้นจะลักษณะขึ้นลง เป็นชุดๆ มีลักษณะของคลื่นราคาการขึ้นและลง 5 คลื่น ซี่งเรียกว่า Impulse Waves  ในรูปแบบตามเทรนราคาหลัก หลังจากนั้นจึงเปลี่ยนรูปแบบมาเป็นการเคลื่อนไหวในลักษณะขาลง 3 คลื่น ซึ่งเรียกว่า Corrective Waves  จากการสังเกตพฤติกรรมของหุ้นของอีเลียตดังกล่าว ทำให้นักลงทุนสามารถคาดเดาแนวโน้มของราคาหุ้น โดยนับการขึ้นลงในแต่ละคลื่นเพื่อเข้าซื้อ หรือขายตามทฤษฎีอีเลียตเวฟได้

③ทฤษฎีแกน Gann Theory

สำหรับทฤษฎีแกนนั้น ได้ถูกคิดค้นโดยวิลเลียม เดลเบอร์ท แกน (William Delbert Gann) โดยเขาได้เสนอทฤษฎีจากการหาความสัมพันธ์ระหว่างราคาหุ้น และเวลาของหุ้นแต่ละตัวที่มีการเคลื่อนไหว 

ที่มา  https://dekgenius.com/stock/

แนวคิดของเขามีความน่าสนใจอย่างยิ่ง  อาทิเช่น การใช้ราคาต่ำสุดมาเป็นราคาตั้งต้นเพื่อหาราคาตั้งรับโดยใช้ตารางเซ็ตทางคณิตศาสตร์ (Cardinal Chart)  รวมถึงแนวคิดที่ประยุกต์ใช้อัตราส่วนร้อยละ ซึ่งได้ใช้มุมในเรขาคณิตมาเป็นเครื่องมือในการหาความสัมพันธ์ระหว่างราคา และเวลา ของหุ้นแต่ละตัว เพื่อคาดการณ์แนวโน้มของเส้นแนวต้าน (Resistance Line) และเส้นแนวรับ (Support Line)  นักลงทุนจึงสามารถคาดการณ์กรอบราคาของคุณโดยประมาณเพื่อวางแผนในการทำกำไรได้

6.เมื่อค้นคว้าด้านเทคนิคต้องเรียนอินดิเคเตออะไร

การที่จะสามารถวิเคราะห์ทางเทคนิคได้นั้น นักลงทุนต้องมีความเข้าใจพื้นฐานตั้งแต่การเกิดแท่งเทียน (Candle stick) สามารถมองเห็นแนวโน้มของหุ้น ทั้งรูปแบบขาขึ้น และขาลง (Trend Line) สามารถคาดการณ์แนวรับ (Support) และแนวต้าน (Resistance) รวมถึงสามารถใช้เครื่องมือทางเทคนิคอื่นๆ หรือ ตัวชี้วัดหรือที่เรียกกันทับศัพท์ว่า อินดิเคเตอร์ (Indicator) ต่างๆ อาทิเช่น 

  • เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average: MA)  – อินดิเคเตอร์ที่แสดงค่าค่าเฉลี่ยของราคาในอดีตจนถึงวันนั้นๆในรูปแบบเส้นกราฟ เพื่อให้นักลงทุนได้เห็นว่าราคาหุ้นในแต่ละช่วงเวลาเมื่อเทียบค่าเฉลี่ยนั้นเป็นอย่างไร
  • ค่า MACD (Moving Average Convergence Divergence) –  อินดิเคเตอร์ที่แสดงแนวโน้มของราคาหุ้นโดยการใช้เส้นค่าเฉลี่ยของช่วงเวลาต่างกัน 2 เส้นเพื่อให้นักลงทุนได้เห็นว่าทิศทางของหุ้นว่ากำลังขึ้นหรือลง
  • ค่าดัชนี RSI (Relative Strength Index) – อินดิเคเตอร์ที่เปรียบเทียบราคาระหว่างหุ้นตัวนั้นในขาขึ้นและขาลง และแสดงผลเป็นค่าระหว่าง 1 – 100 เพื่อให้นักลงทุนได้เห็นว่าขณะนี้นั้นหุ้นถูกซื้อมากเกินไป (overbought) หรือขายมากเกินไป (oversold) หรือยัง
  • ฟิโบนัชชี รีเทรซเมนท์ (Fibonacci Retracement) – อินดิเคเตอร์ที่แสดงให้เห็นถึงระดับราคาของหุ้น  เพื่อให้นักลงทุนได้เห็นเส้นแนวรับ แนวต้านของหุ้นตัวนั้นๆ  เป็นต้น

เทคนิคการใช้อินดิเคเตอร์เบื้องต้นที่มีเหล่านี้ เป็นสิ่งที่นักลงทุนควรจะทราบ เพื่อที่จะสามารถนำอินเคเตอร์เหล่านี้มาใช้เป็นเครื่องมือประกอบการตัดสินใจก่อนการลงทุนได้อย่างดีที่สุด

7.วิเคราะห์เทคนิคที่ไหน

นักลงทุนที่สนใจสามารถลงทุนสินทรัพย์ที่หลากหลายทั่วโลกที่: Mitrade.com

โดย Mitrade นั้นมีบริการเครื่องมือในการสร้างกราฟได้อย่างเที่ยงตรง โดยสามารถวาดเส้นแนวโน้ม เส้นแยก มีกราฟิกที่สวยงามและใส่คำอธิบายประกอบกราฟได้ และนอกจากนี้ ยังสามารถลากเส้นแนวโน้มได้แม่นยำ เพื่อช่วยให้นักลงทุนทำการวิเคราะห์ทางเทคนิคให้ดีขึ้น

ที่มา https://app.mitrade.com/

นอกจากนี้ Mitrade ยังมีอินดิเคเตอร์ทางเทคนิคเกือบร้อยตัวสำหรับประกอบการตัดสินใจ เช่น Arnuad Legoux Moving Average, MACD Moving Average Convergence และ Divergence, EMA crossover, KD stochastic indicator เป็นต้น ซึ่งอินดิเคเตอร์เหล่านี้เพียงพอสำหรับนักลงทุนมือใหม่หรือการวิเคราะห์ระดับกลางถึงระดับสูง

ที่มา https://app.mitrade.com/

Mitrade นั้นใช้งานง่าย มีสินทรัพย์หลากหลายของทั่วโลกให้นักลงทุนได้เทรด และมีบริการให้ความช่วยเหลือลูกค้าในประเทศไทย ตลอด24 ชั่วโมง ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ

8.ยังมีอะไรอีกที่สำคัญ 

นักลงทุนหน้าใหม่หลายท่าน อาจมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนว่า “การเล่นหุ้น คล้ายการเล่นหวย” ที่ต้องอาศัยโชค หรือ เหมือนการแทง “ไฮ-โล” ที่มีสูงต่ำเพียงลงให้ถูกตำแหน่ง  แต่ในความเป็นจริงแล้ว การเล่นหุ้นหรือการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์อย่างมืออาชีพและยั่งยืน นอกจากจะมีทฤษฎีต่างๆ ที่สามารถใช้เป็นหลักจับยึดเพื่อกำหนดกลยุทธ์การลงทุนแล้วได้แล้ว ยังมีความเกี่ยวเนื่องกับหลักจิตวิทยาการการลงทุนอีกด้วย โดยเฉพาะ 2 อารมณ์หลัก ได้แก่ ความโลภ และความกลัว

1. ความโลภ ที่ทำให้เรากล้าเสี่ยงมากขึ้น ความย่ามใจ กล้ายิ่งขึ้นหรือไม่หยุดที่จะทำอะไรโดยไม่อยู่บนพื้นฐานความเป็นจริ

 ความโลภมักจะเกิดกับหุ้นขาขึ้น นักลงทุนมักลุ้นและคาดหวังให้หุ้นสูงขึ้นไปอีก จนบางครั้งอาจจะลืมขายเพื่อทำกำไรไปก่อน (Stop profits)  เมื่อมารู้ตัวอีกที หุ้นก็ลงเสียแล้ว

2. ความกลัว กลัวที่จะได้รับผลตอบแทนจนการลงทุนนั้นไม่คุ้มค่า หรือกลัวจนหยุดที่จะลองเสี่ยง และในบางรายอาจกลัวจนอาจไม่กล้าลงทุนไปเลย

เช่นในตลาดหุ้นนั้น เราจะความกลัวในหลายรูปแบบ อาทิเช่น นักลงทุนบางคนเห็นราคาหุ้นลงมาเร็ว ก็ตกใจและกลัวขาดทุนหนัก จึงรีบขายหุ้นไป (Panic sell)  ขณะที่นักลงทุนบางคนอาจจะกลัวที่จะขาดทุน จึงไม่ยอมขายหุ้นเมื่อหุ้นตัวนั้นไม่เป็นไปเมื่อเข้าผิดทาง โดยยอมสูญเสียทุนส่วนหนึ่งเพื่อรักษาเงินทุนส่วนใหญ่ไว้ คัทลอส (Cut lost) เมื่อมารู้ตัวอีกทีก็ “ติดดอย” เสียแล้ว

ที่มา https://moonstalks.com/read/topic/40756095

จะเห็นได้ว่า ทั้งความโลภและความกลัวมีผลต่อการลงทุนอย่างยิ่ง การขจัดความโลภ และความกลัว มีเคล็ดลับง่ายๆ “4 ไม่” สำหรับนักลงทุนหน้าใหม่ ได้แก่

ไม่จิตอ่อน ตื่นตระหนกหรืออ่อนไหวตามกระแสจนทำให้เกิดความกลัวหรือความโลภ

ไม่ใส่อารมณ์ร่วม เมื่อมีแผนการลงทุนแล้ว ก็ควรเดินตามแผนที่วางไว้อย่างรอบคอบและถี่ถ้วน

ไม่เฝ้ากราฟ หากคุณเป็นนักลงทุนระยะยาว การเฝ้าดูความเคลื่อนไหวของกราฟทั้งวันอาจทำให้คุณไขว้เขว แต่หากคุณเป็นนักเก็งกำไรระยะสั้น การเฝ้าดูเพื่อจับจังหวะการลงทุนนั่นคือสิ่งสำคัญ จึงควรทำความเข้าใจกับตนเองก่อน

ไม่หยุดเรียนรู้ เสริมจิตใจให้เข้มแข็งด้วยการหาความรู้ เพื่อเติมเต็มความมั่นใจ และพัฒนาตนเองสู่ระดับมืออาชีพ โดยติดตามจากผู้รู้จริง ประสบการณ์จากมืออาชีพ ซี่งจะเป็นทางลัดสู่ความสำเร็จ

9.ข้อสรุป

การวิเคราะห์ทางเทคนิคนั้นช่วยให้นักลงทุนได้ทราบถึงข้อมูลสำคัญที่จะเป็นประโยชน์ในการตัดสินใจเข้าซื้อหายหุ้นในจังหวะที่เหมาะสม  โดยใช้ความรู้ แนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง พร้อมกับเครื่องมือในการประมวลและแสดงผลที่แม่นยำเหมาะสม  เพื่อใช้ในการเตรียมความพร้อมก่อนการตัดสินใจลงทุน  

เปรียบเสมือนกับ “การเดินเรือที่ต้องดูทิศทางลม” ดังนั้นสิ่งที่นักลงทุนควรจะใช้ควบคู่กันนั่นคือ มีการวิเคราะห์พื้นฐานหุ้นที่ดี ซี่งก็เหมือนกับมีเรือที่ดีที่ใช้ในการเดินทาง และมีการวิเคราะห์ทางเทคนิคที่แม่นยำ ซี่งก็เหมือนกับการดูทิศทางลม เพื่อหาจังหวะก่อนที่จะออกเรือ  เพื่อให้เดินทางไปอย่างสวัสดิภาพ

โดยสรุปแล้ว การวิเคราะห์ทางเทคนิคเป็นสิ่งที่นักลงทุนทุกคนควรทราบและนำมาใช้ได้ถูกต้อง โดยการเข้าใจถึงบทบาท ข้อดีข้อเสีย  แนวคิดและทฤษฎีที่สำคัญ สามารถใช้อินดิเคเตอร์ได้แม่นยำและตัดสินใจได้เฉียบขาด ควบคู่กับการวิเคราะห์พื้นฐาน เพื่อให้ได้ผลลัพท์ของการลงทุนที่สูงสุด 


Writer

Dr. Justin Kaewnopparat

นักเขียน นักคิด นักแปล อาจารย์มหาวิทยาลัย นักลงทุนอิสระ ผู้รักการถ่ายภาพ ชอบท่องเที่ยว และมีประสบการณ์ชีวิตที่หลากหลายวัฒนธรรมในหลายประเทศ

References

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *