TP (Take Profit) คืออะไร?

TP (Take Profit) คืออะไร?

TP (Take Profit) คืออะไร?

TP (Take Profit) คือ ขายหุ้นเพื่อทำกำไร โดยส่วนใหญ่แล้วนักลงทุนจะตั้งจุดราคาที่หุ้นขึ้นมาได้กำไรจนเป็นที่พอใจ แล้วตั้งคำสั่งเพื่อขายหุ้นล่วงหน้าโดยอัตโนมัติเมื่อหุ้นขึ้นมาถึงเป้าราคาที่ตั้งไว้

นักลงทุนส่วนใหญ่น่าจะเคยรู้สึกเสียดาย ที่หุ้นที่ถืออยู่ได้พุ่งทะยานขึ้นแล้วจู่ๆ ก็ลงมายังจุดเดิมหรือจุดต่ำกว่าเดิม   ประโยคที่ตามมาและเรามักจะได้ยินจนคุ้นหูจากนักลงทุนส่วนใหญ่ก็คือ  “รู้งี้น่าจะขายไปก่อน” นั่นเอง   ประโยคคุ้นเคยและความน่าเสียดายเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นหากนักลงทุนรู้จักการ Take Profit (TP) ซี่งเป็นวิธีการง่ายๆ และเป็นประโยชน์อย่างมากเลยทีเดียว

จะดีขนาดไหนหากนักลงทุนจะมีวิธีการที่จะการันตีได้ว่า เราจะได้กำไรจากหุ้นที่กำลังขึ้นอยู่แน่ๆ แล้วสามารถตั้งคำสั่งให้ระบบขายหุ้นโดยอัตโนมัติเมื่อหุ้นขึ้นถึงจุดที่เป็นราคาเป้าหมาย เพื่อรับกำไรเข้ากระเป๋า และลดความเสี่ยงหากหุ้นตกลงมายังจุดเดิม  โดยในบทความวันนี้เราจะมาเรียนรู้กันว่า Take Profit (TP) คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร มีวิธีการอย่างไร และควรระวังเรื่องอะไรบ้างในการเข้าทำกำไร

【Key Takeaways】

–            Take Profit (TP) คือ การขายหุ้นเพื่อทำกำไร โดยการตั้งจุดที่เป็นราคาเป้าหมายเพื่อจะขายหุ้นเพื่อทำกำไรไปก่อนนั้นอาจจะใช้คำสั่งเพื่อให้เกิดการขายหุ้นโดยอัตโนมัติเมื่อราคาหุ้นพุ่งถึงเป้า

–            ประโยชน์ และความสำคัญของการใช้ Take Profit (TP) คือ การมั่นใจว่าจะได้กำไรอย่างแน่นอนเมื่อไรก็ตามที่ราคาหุ้นถึงราคาเป้าหมาย โดยระบบจะทำการขายหุ้นเองโดยนักลงทุนไม่ต้องคอยนั่งเฝ้าหน้าจอ

–            วิธี Take Profit (TP) มีหลากหลายวิธี เช่นการกำหนดเปอร์เซ็นต์กำไร การกำหนดโดยใช้เส้นแนวรับแนวต้าน  หรือการกำหนดโดยใช้สัญญาณอินดิเคเตอร์ (indicator)

–            ข้อควรระวังในการตั้งTake Profit (TP) คือ ความโลภ  การไม่มีความรู้อย่างเพียงพอในการอ่านค่าอินดิเคเตอร์ (indicator)  และจิตใจอ่อนไหวไม่แน่วแน่

–            ข้อดีของการใช้แพลตฟอร์ม mitrade จะช่วยให้การตั้งค่า Take Profit (TP) เป็นเรื่องง่าย สามารถวิเคราะห์เส้นแนวรับแนวต้าน อ่านอินดิเคเตอร์ (indicator) เพื่อประกอบการตัดสินใจได้รวดเร็ว 


Take Profit (TP) คืออะไร? 

            การเข้าทำกำไรหรือ Take Profit (TP) นั้น เป็นการตั้งเป้าราคาขายหุ้นเพื่อทำกำไร โดยนักลงทุนส่วนใหญ่จะมีราคาเป้าหมายที่ตนเองพอใจ   โดยบางท่านอาจจะดูที่กำไรว่าส่วนต่างเม็ดเงินที่เป็นกำไรที่จะได้นั้นถึงจุดที่พอใจหรือยัง หรือนักลงทุนบางท่านอาจจะดูว่าราคาหุ้นตัวนั้นๆ ถึงจุดที่เหมาะสมในการขายหรือยัง    โดยสามารถตั้งคำสั่งเพื่อขายหุ้นล่วงหน้าโดยอัตโนมัติ และให้ระบบขายหุ้นทันทีที่หุ้นขึ้นมาถึงเป้าราคาที่ตั้งไว้เพื่อมั่นใจว่าจะมีกำไรเข้ากระเป๋าอย่างแน่นอน

            แม้ว่าการ Take Profit (TP) จะเป็นการตั้งขายเพื่อทำกำไรเมื่อกำไรถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้  อย่างไรก็ตาม ในบางครั้งหุ้นอาจจะไม่ได้เป็นไปดังคาดหมาย และปรากฏว่าหุ้นที่เพิ่งซื้อไปนั้นไม่ได้กำไรอยางที่คิด  ดังนั้นนักลงทุนจึงต้องเผื่อจุด Stop Loss  เพื่อตั้งขายเมื่อราคาตกลงมาในทางตรงข้ามในกรณีเข้าผิดทางไว้ด้วย  นั่นหมายถึงบางครั้งนักลงทุนต้องยอมตัดใจขายขาดทุน (Cut Loss) เพื่อรักษาเงินทุนส่วนใหญ่เอาไว้ และป้องกันการบาดเจ็บหนักหากหุ้นทิ้งดิ่งลงไปกว่าเดิม


ทำไมต้องตั้ง Take Profit (TP)

            การทำกำไรในหุ้นย่อมเป็นสิ่งที่ดีที่นักลงทุนทุกคนต่างต้องการ  ซึ่งโดยปกติทั่วไป นักลงทุนต่างสามารถตั้งซื้อตั้งขายได้เองอยู่แล้ว   แต่ทำไมเราถึงต้องตั้ง Take Profit (TP) ล่ะ?

            จริงๆ แล้ว การตั้ง Take Profit (TP) นั้นมีประโยชน์ และความสำคัญอย่างยิ่งที่นักลงทุนหลายๆ คนอาจจะมองข้ามไป ซี่งจะสามารถแยกแยะเป็นข้อๆ ได้ดังนี้

·  การตั้ง Take Profit (TP) เป็นการตั้งธงเอาไว้ว่า เราจะขายหุ้นที่ราคาเป้าหมาย  นั่นหมายถึงเป็นการการันตีว่าจะมีกำไรที่แน่นอนทันทีที่ราคาหุ้นถึงราคาเป้าหมายที่เราตั้งเอาไว้ แม้บางครั้งหุ้นอาจจะขึ้นสูงต่อไปอีก หรือลงมาต่ำลงมากว่าเดิม  เราก็จะมีความมั่นใจว่า อย่างน้อยการลงทุนหุ้นในรอบนี้ เกิดผลเป็นกำไรแล้วดังเป้า

·  ระบบทำการขายหุ้นให้โดยอัตโนมัติ เมื่อราคาหุ้นถึงราคาเป้าหมายที่เราตั้งไว้  และทำการปิดออร์เดอร์โดยทันทีที่มีการทำกำไรเสร็จเรียบร้อย  นั่นหมายความว่า นักลงทุนไม่ต้องเสียเวลามานั่งเฝ้าหน้าจอเพื่อที่จะทำการซื้อขายอยู่ตลอดเวลา  ช่วยในการประหยัดหัวสมองและเวลาของนักลงทุนได้มากเลยทีเดียว

·  ป้องกันการถูกปัจจัยด้านอารมณ์มาทำให้ไขว้เขว  โดยบ่อยครั้งหากนักลงทุนทำการเฝ้าหน้าจออยู่ตลอดเวลา จะมีช่วงเวลาที่แรงกดดันตลาด เทขายหุ้น  หรือช้อนซื้อหุ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการตื่นตระหนกและตัดสินใจผิดพลาดตามอารมณ์ได้ง่าย   การตั้ง Take Profit (TP) จะทำให้นักลงทุนตั้งเป้าราคาในการทำกำไร โดยใช้สมองก่อนอารมณ์


วิธี Take Profit (TP) ง่ายๆ

วิธีการตั้งขายเพื่อทำกำไรหรือ Take Profit (TP) นั้นอาจะมีหลากหลายวิธีขึ้นอยู่กับสไตล์การเทรด และเป้าหมายด้านกำไรของนักลงทุนแต่ละคน  แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว การ Take Profit (TP) นั้นแบ่งออกเป็น 2 แง่มุม นั่นคือ การเอาความต้องการของนักลงทุนเป็นที่ตั้ง   หรือเป็นการเอาประวัติพฤติกรรมของหุ้นตัวนั้นๆ เป็นที่ตั้ง 

กล่าวคือ หากเอาความต้องการของนักลงทุนเป็นที่ตั้ง เราจะใช้วิธีการ Take Profit (TP) ตามใจของนักของนักลงทุน ซึ่งอาจจะเป็นกำไรหรือเปอร์เซ็นต์ที่อยากได้   และหากเอาประวัติพฤติกรรมของหุ้นตัวนั้นๆ เป็นที่ตั้ง  เราก็จะใช้การ Take Profit (TP) โดยโดยใช้เครื่องมือที่อ่านพฤติกรรมหุ้น เช่นการใช้อินดิเคเตอร์ (indicator)  ประเภทต่างๆ  โดยจะสามารถอธิบายรายละเอียดได้ดังนี้

(1)ตั้ง Take Profit (TP) ตามกำไรหรือเปอร์เซ็นต์ที่อยากได้  วิธีการนี้เป็นที่นิยมกันอย่างวงกว้าง เนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่ต่างมีเป้าหมายกำไรที่ตนเองอยากได้ และไม่จำเป็นต้องใช้ความรู้ทางเทคนิคอะไรมากมายในการวิเคราะห์เพื่อประเมินหาค่ากำไร   พูดง่ายๆว่า ตามใจล้วนๆ ว่าอยากขายเมื่อหุ้นทำกำไรเท่าไหร่ หรือคิดเป็นกี่เปอร์เซนต์   อย่างไรก็ตามนักลงทุนส่วนใหญ่มักจะตั้งขายเมื่อหุ้นทำกำไรประมาณ 3 – 10 % ของการเทรดในแต่ละครั้ง

ข้อดี คือ:  การตั้ง Take Profit (TP) ตามกำไรหรือเปอร์เซ็นต์ที่อยากได้นั้นมีความยืดหยุ่นสูง  และกำไรที่ได้เป็นที่พอใจของนักลงทุน (เพราะนักลงทุนเป็นผู้กำหนดปริมาณกำไร และตั้งจุดขายเอง)  ขณะเดียวกันอาจจะมีข้อเสียคือนักลงทุนอาจจะตาโตและตั้งกำไรสูงเกินการเคลื่อนตัวของราคาหุ้นในรอบการเทรดนั้นๆ ทำให้ท้ายที่สุด ราคาหุ้นอาจจะขึ้นไปไม่ถึงจุดกำไรที่ต้องการ และ Take Profit (TP) ไม่สำเร็จ

(2)การหาจุด take profit โดยใช้ indicator วิธีการนี้เป็นการนำประวัติพฤติกรรมการเคลื่อนไหวของหุ้นตัวนั้นๆ มาเป็นข้อมูลหลักในการประเมินหาจุด Take Profit (TP) โดยใช้อินดิเคเตอร์ (indicator)  มาประมวลผลข้อมูลและแสดงผลในรูปแบบต่างๆ ทั้งนี้ อินดิเคเตอร์ (indicator)  ที่ได้รับความนิยมในการหาจุด Take Profit (TP) อาทิเช่น

การใช้ Fibonacci – ซึ่งเป็นอินดิเคเตอร์ทางจิตวิทยาที่แสดงให้เห็นถึงระดับราคาของหุ้น ซึ่งอาจจะ Take Profit (TP) ที่จุด 61.8%, 38.2%, หรือ 23.6%

ที่มา: https://economictimes.indiatimes.com/markets/stocks/news/technicals-with-etmarkets-how-to-use-fibonacci-to-identify-buying-levels/articleshow/53718163.cms?from=mdr

การใช้เส้นแนวรับ-แนวต้านและ Trend Line  – เพื่อให้นักลงทุนได้เห็นเส้นแนวรับ แนวต้านของหุ้นตัวนั้นๆ   แล้วตั้งราคาซื้อที่เส้นแนวรับและ Take Profit (TP) ตามจุดของเส้นแนวต้าน

ที่มา:  https://cutforex.com/take-profit-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/

การใช้ค่า MACD (Moving Average Convergence Divergence) –  อินดิเคเตอร์ที่แสดงแนวโน้มของราคาหุ้นโดยการใช้เส้นค่าเฉลี่ยของช่วงเวลาต่างกัน 2 เส้นเพื่อให้นักลงทุนได้เห็นว่าทิศทางของหุ้นว่ากำลังขึ้นหรือ ลง โดยเมื่อเส้นตัดกันจะบ่งบอกสัญญานการกลับตัวของหุ้น ซึ่งจะใช้จุดนี้เป็นจุด Take Profit (TP) ในแต่ละรอบได้

ข้อดี คือ:  การการหาจุด take profit โดยใช้ indicator นั้นมีหลักการที่ชัดเจน และอ้างอิงมาจากประวัติพฤติกรรมการเคลื่อนไหวของหุ้นตัวนั้นๆ  อย่างไรก็ตามข้อเสียของการใช้ indicator อาจจะเป็นเรื่องของความรู้ความเข้าใจในการนำอินดิเคเตอร์ (indicator)  แต่ละตัวมาใช้ และบางครั้งปริมาณกำไรที่ได้ในแต่ละครั้งอาจจะไม่เป็นที่พึงพอใจของนักลงทุนตามที่อยากจะได้


ข้อควรระวังในการตั้งTake Profit (TP)

แม้ว่าการตั้ง Take Profit (TP) จะมีประโยชน์และสามารถสร้างความมั่นใจว่า นักลงทุนจะสามารถขายหุ้นเพื่อทำกำไรในจังหวะที่หุ้นขึ้นถึงจุดที่นักลงทุนตั้งเป้ากำไรไว้ก็ตาม  แต่ก็ยังมีข้อควรระวังในการตั้ง Take Profit (TP) เช่นกัน  ดังนี้

–            ความโลภ  –  เงินและกำไรมักล่อตาล่อใจ และทำให้นักลงทุนกล้าเสี่ยงเกินพื้นฐานความจริง   ความโลภมักจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับการตั้ง Take Profit (TP) แบบกำหนดกำไรเองว่านักลงทุนอยากได้กำไรเท่าไหร่  กำไรกี่เปอร์เซ็นต์  ซึ่งหลายครั้ง หากความโลภมาบังตา ก็มักจะทำให้นักลงทุนคาดหวังกำไรเกินพื้นฐานความจริงของหุ้นตัวนั้นๆ  และสุดท้ายหุ้นขึ้นไปไม่ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ ส่งผลให้พลาดการ Take Profit (TP) ในที่สุด

–            การไม่มีความรู้อย่างเพียงพอในการอ่านค่าอินดิเคเตอร์ (indicator)  –  หากนักลงทุนเลือกที่จะ Take Profit (TP) โดยใช้ อินดิเคเตอร์ (indicator)  ประเภทใดๆ แล้วนั้น   หมายความว่า นักลงทุนต้องมีความแม่นยำในการขีดเส้น แนวรับแนวต้าน  และสามารถอ่านและตีความผลของ อินดิเคเตอร์ (indicator)  ในแต่ละตัวได้อย่างเฉียบคม  ซึ่งหากตีเส้นแนวรับแนวต้านหรืออ่านค่า อินดิเคเตอร์ (indicator)  ผิดแล้ว   อาจจะทำให้จุด Take Profit (TP) สูงหรือต่ำกว่าที่ควรจะเป็นตามจริงก็ได้

–            จิตใจอ่อนไหวไม่แน่วแน่ – แม้ว่าข้อดีของการ Take Profit (TP) คือการกำหนดเป้าหมายราคาขายไว้ก่อน และไม่ต้องนั่งเฝ้าจอก็ตาม  แต่ในความเป็นจริงแล้ว  อาจจะมีนักลงทุนบางท่าน ที่อดใจไม่ไหว และลงท้ายด้วยการแอบเข้ามาดูกราฟ ดูการเคลื่อนไหวของหุ้น และอาจจะโดนแรงกดดันหรือความตื่นตระหนกของตลาด ทำให้ท้ายที่สุดต้องเข้ามาปรับราคาของ Take Profit (TP) เป็นราคาตามอารมณ์ตลาด และลงเอยด้วยการขายหมูก็เป็นได้

ใช้แพลตฟอร์ม mitrade เทรดฟอเร็กซ์ หุ้น

นักลงทุนอาจสงสัยว่า ควรจะใช้ช่องทางหรือเครื่องมือใดดีที่จะช่วยให้ การ Take Profit (TP) นั้นสะดวกและง่ายขึ้น  ในขณะที่มีการแข่งขันสูงของ Trading Platform และ Application มีแพลตฟอร์มหนึ่งตัวที่เราอยากจะแนะนำนั่นคือ mitrade.com

1)ข้อดีของ mitrade เมื่อเทียบกับ program mt4 หรือ mt5

วิธีการหนึ่งที่เป็นที่นิยมในการใช้เพื่อ Take Profit (TP)  นั่นคือการใช้ อินดิเคเตอร์ (indicator) ต่างๆ เพื่อวิเคราะห์หาจุดตั้งราคาขายเพื่อทำกำไร  ซึ่งที่ mitrade นั้นมีเครื่องมือในการสร้างกราฟได้อย่างเที่ยงตรง โดยนักลงทุนสามารถลากเส้นแนวรับ เส้นแนวต้าน และ Trend line ต่างๆ เพื่อประกอบการพิจารณาหาจุด Take Profit (TP) ที่เหมาะสมได้ 

เมื่อเทียบกับ Platform อื่นๆ เช่น mt4 หรือ mt5 แล้วจะพบว่า กราฟฟิคต่างๆ ของ mitrade นั้นดูเข้าใจง่าย สะอาดตา และมีฟังค์ชั่นต่างๆที่เป็นประโยชน์และเป็นมิตรกับผู้ใช้ทุกระดับ และนอกจากนี้ยังมี user interface เป็นภาษาไทยไว้รองรับนักลงทุนชาวไทยโดยเฉพาะอีกด้วย

นอกจากนี้ mitrade ยังมีอินดิเคเตอร์ (indicator) ต่างๆ ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น MACD (Moving Average Convergence Divergence) ที่เป็นหนึ่งในอินดิเคเตอร์ (indicator) หลักที่นักลงทุนมืออาชีพหลายๆ ท่านใช้ในการพิจารณาหาจุด Take Profit (TP)  หรืออินดิเคเตอร์ทางจิตวิทยาอย่าง Fibonacci ที่สามารถนำมาปรับใช้สำหรับหาจุดในการ Take Profit (TP) เพื่อทำกำไรได้อย่างแม่นยำเช่นกัน

2)ตัวอย่างการตั้งค่า Take Profit (TP) กับ mitrade

สำหรับนักลงทุนคนไหนที่สนใจลองใช้้ mitrade เพื่อช่วยเหลือในการ Take Profit (TP) นั้น สามารถทำได้ง่ายนิดเดียว  โดยนักลงทุนสามารถเห็นเมนูการตั้งค่า Take Profit (TP) และตั้งค่าปริมาณล็อต และเลือกจุดราคาที่จะขายเพื่อทำกำไร  จากนั้นก็เพียงแค่รอลุ้นรับกำไรงามๆ 

เพื่อให้นักลงทุนได้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น  เราจะขอยกตัวอย่างหุ้นดังของตลาดอเมริกาอย่างหุ้น AAPL ของบริษัท Apple  ซึ่งหากนักลงทุนเลือกที่จะ Take Profit (TP) นั้นอาจจะต้องทำการตัดสินใจก่อนว่า จะใช้กลยุทธ์ใดในการ Take Profit (TP) เช่น  ตั้ง Take Profit (TP) ตามกำไรหรือเปอร์เซ็นต์ที่อยากได้ การใช้ indicator หรือ การใช้เส้นแนวรับแนวต้านเป็นตัวกำหนดจุดทำกำไร  

สมมุติว่า ราคาต้นทุนของหุ้น AAPL ที่นักลงทุนซื้อมานั้นอยู่ที่ $165 และนักลงทุนตั้งเป้าไว้ว่าจะขายเมื่อหุ้นเมื่อหุ้นสามารถทำกำได้ได้ประมาณ 5 %  ดังนั้นนักลงทุนสามารถตั้งค่าเป้าหมายในการ  Take Profit (TP) ไว้ที่ $173.5 เพื่อให้ระบบทำการขายเพื่อรับกำไรอัตโนมัติเมื่อหุ้น AAPL พุ่งขึ้นถึงราคาดังกล่าว  

ในทางกลับกัน  นักลงทุนควรจะเผื่อใจในกรณีที่การตัดสินใจซื้อหุ้น AAPL ครั้งนั้นผิดพลาดและหุ้นกลับลงสวนทางกับความคาดหวัง  นักลงทุนจึงควร ตั้งค่า Stop Loss ไว้ด้วยไปพร้อมๆกัน  ซึ่งควรเป็นจำนวนเปอร์เซ็นต์ที่นักลงทุนยอมรับได้ ซึ่งหลายๆ นักลงทุนยอมรับความสูญเสียได้ที่ประมาณ 5-10% หากหุ้นมาผิดทาง ในกรณีนี้ นักลงทุนอาจจะตั้ง Stop loss ไว้ที่ 5% เช่นกันที่ราคา $156.75 เผื่อยอมขาดทุนก่อนที่หุ้นจะถลำลึกไปและขาดทุนมากกว่านี้


สรุป เรื่อง Take Profit (TP)

การ Take Profit (TP) เป็นสิ่งที่นักลงทุนทั้งหลายควรทำให้เป็นนิสัย  โดยเฉพาะเมื่อมีโอกาสทำกำไรแล้ว ควรจะคว้าโอกาสนั้นไว้ก่อนที่หุ้นจะย่อตัวลง หรือกลับมาต่ำกว่าเดิม  ทั้งนี้นักลงทุนสามารถใช้เครื่องมือและอินดิเคเตอร์ต่างๆที่ช่วยประเมินในการตัดสินใจว่า ควรจะตั้งเป้าทำกำไรไว้ที่เท่าไหร่ เพื่อไม่ให้พลาดกำไรนั้นๆ เมื่อหุ้นพุ่งขึ้นไปตามราคาเป้าหมายนั่นเอง

ถึงเวลาแล้วที่เราจะเลิกเสียดายและต้องพูดคำว่า “รู้งี้…”  กันสักที  และหันมา Take Profit (TP) หมั่นรับกำไรเข้ากระเป๋าไปก่อน  มาเริ่มลงทุนและเริ่มทำกำไรไปด้วยกันนะครับ

One comment

  1. Pingback: หลักเกณฑ์ขั้นพื้นฐานของการวิเคราะห์ทางเทคนิค(Technical Analysis) คือ - TradersThai

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *